เมนู

มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม
อโภชเนยฺยํ
โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีเนื้อความเท่ากับ มยฺหํ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.
มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม
ภิกฺขเว ภวถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เรา.
แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ 2 อย่าง คือ มยา
สุตํ
ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุตํ การสดับของข้าพเจ้า.

แก้อรรถบทว่า สุตํ


สุต

ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค จำแนกเนื้อความได้
หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากำหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย
ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมี
อาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป มีเนื้อความว่าเดินทัพ.
มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส
ปสฺสโต
ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรม
ปรากฏแล้ว.
มีเนื้อความว่ากำหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตา
อวสฺสุตสฺส
ภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบ

คลำจับต้องกาย มีเนื้อความว่า ภิกษุณีมีจิตชุ่มด้วยราคะ ยินดีการที่ชาย
ผู้มีจิตชุ่มด้วยราคะมาจับต้องกาย.
มีเนื้อความว่าสั่งสม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตุเมฺหหิ ปุญฺญํ
ปสุตํ อนปฺปกํ
บุญเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว มีเนื้อความว่า
เข้าไปสั่งสมแล้ว.
มีเนื้อความว่าขวนขวาย เช่นในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตา
ธีรา
ปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใดผู้ขวนขวายในฌาน มีเนื้อความว่า ประกอบ
เนือง ๆ ในฌาน.
มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสด เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺฐิ สุตํ มุตํ รูปารมณ์ที่จักษุเห็น สัททารมณ์ที่โสดฟัง และอารมณ์
ทั้งหลายที่ทราบ มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต.
มีเนื้อควานว่า รู้ตามโสตทวาร เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร
สุตสนฺนิจฺจโย
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ มีเนื้อความว่า ทรงธรรม ที่รู้ตาม
โสดทวาร.
แต่ในพระสูตรนี้ สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่า จำหรือความจำตาม
โสตทวาร.
ก็ เม ศัพท์ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมา คือจำตามโสตทวาร อย่างนี้ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ
มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า คือ ความจำตาม
โสตทวารของข้าพเจ้า อย่างนี้.

แก้อรรถ เอวมฺเม สุตํ


บรรดาบททั้ง 3 ดังกล่าวมานี้ บทว่า เอวํ แสดงกิจแห่งวิญญาณ